Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

พระมาลัยโผดโลก

ในปัจจุบันที่เลย กึ่งพุทธกาลมาแล้วนี้นั้น ชนชาวพุทธโดยกฏหมายบางท่าน อาจจะสับสนหรือแยกแยะไม่ออกกันแล้วว่า ไหนคือแนวทางแห่งพุทธ แนวทางแห่งพราหมณ์ ซ้ำเลยหนักไปถึงไม่ทราบว่า พุทธที่เป็นพุทธแบบแท้จริง แบบดั่งเดิมสมัยพุทธองค์นั้นเป็นอย่างไร แล้วนิกายต่างๆ สมัยนี้แตกต่างกันเช่นไร ทำเอาผสมปนเปกันไปหมด วัดเดียวมีครบทุกแบบ เพียงเพราะต้องการดึงชาวบ้านทางโลกให้เข้ามาอุดหนุน

แต่เดิมสมัยพุทธกาล พระสงฆ์ล้วนปฏิบัติตามพระวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด หากมีกรณีพิพาทอันใด ก็จะทูลขอคำวินิจฉัยจากพระพุทธองค์ แต่กาลต่อมาหลังปรินิพพาน รูปแบบวิถีปฏิบัติพระธรรมวินัยเดิม ย่อมแปรไปตามแต่ละพระอาจารย์ว่าจะมีความเคร่งครัดเพียงใด ก็สั่งสอนเรื่อยมาตามความเชื่อถือ การตีความพุทธพจน์ที่มีมานั้น หรือความรู้ธรรมที่แตกต่างกัน ที่เรียกว่า “ทิฏฐิสามัญตา”
ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานล่วงได้ 3 เดือน มีการจัดสังคายนาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นองค์ประธาน พร้อมพระอรหันต์อื่นอีก 500 รูป ได้ตกลงเป็นฉันทามติ ให้พระสงฆ์รักษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติตามสิกขาบททุกข้อไว้ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง โดยไม่มีการเพิ่มถอนใดๆ นอกเหนือจากที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ทั้งสิ้น
การสังคายนาครั้งที่ 2 ราวพุทธศตวรรษ 100 เริ่มมีคณะสงฆ์บางกลุ่มที่ไม่ยอมรับมติของพระมหาเถระครั้งปฐมสังคายนาก็ดี หรือมีความเห็นทางธรรมแตกต่างจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมก็ดี จึงเริ่มแตกออกมาเป็นนิกายต่างๆ เรื่อยมานับแต่นั้น ตามคติแห่งยุคสมัย

นิกายใหญ่ มี 3 นิกาย ได้แก่
1. นิกายเถรวาท หรือ สาวกยาน หรือ หินยาน
2. นิกายอาจาริยวาท หรือ มหายาน
3. นิกายวัชรยาน

1. นิกายเถรวาท
หลังการเกิดแตกสาขานิกายไปจากสายดั้งเดิมครั้งพุทธกาล พระสงฆ์ที่ยึดถือแนวทางเดิมนี้โดยบริบูรณ์ จึงถูกเรียกว่าปฏิบัติตามแนวของเถรวาท หรือนิกายใน “วงศ์แห่งพระเถระ”
นิกายเถรวาท ได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนทุกนิกายว่าเป็นนิกายที่รักษาพระธรรมวินัย ไว้อย่างเคร่งครัด สมบูรณ์ที่สุด จัดเป็นพระพุทธศาสนาแนวหลักแท้จริงดั้งเดิมตามพุทธกาล () ที่นิกายอื่นแยกออกไป
สาระสำคัญของนิกายเถรวาท นอกเหนือจากการปฏิบัติตามธรรมวินัยเดิมแล้ว ยังยึดถือตามคัมภีร์พระไตรปิฏกบาลี มุ่งสู่พระนิพพานการเป็นพระอรหันต์ เพื่อหลุดพ้นจากสังสารวัฏ (วัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด)
ประเทศที่นับถือได้แก่ ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา สำหรับประเทศไทยนั้น ยังแบ่งได้อีก 2 นิกายย่อย คือ
– มหานิกาย คือคณะสงฆ์องค์คณะใหญ่ของเถรวาทดั้งเดิม
– ธรรมยุติกนิกาย คือคณะสงฆ์ไทยสายธรรมยุติ ถือกำเนิดขึ้นปี พ.ศ.2365 ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตั้งขึ้น โดยพัฒนาแนวทางวิธีการปฏิบัติธรรมตามแบบคณะสงฆ์สายธรรมกัลยาณีของประเทศพม่า

2. นิกายมหายาน
มหายาน มีความหมายว่า ยานพาหนะขนาดใหญ่ที่นำพาสรรพสัตว์ข้ามพ้นห้วงน้ำแห่งการเวียนว่ายตายเกิด. นิกายมหายาน มีสาระสำคัญต่างจากสายดั้งเดิมที่ ยึดถือทำตามแนวทางพระโพธิสัตว์ ที่ปรารถนามุ่งสู่การเป็นพระพุทธเจ้า ที่เชื่อว่าสามารถช่วยเหลือสัตว์โลกได้มากกว่านิกายเถรวาทหรือหินยาน ซึ่งมีความหมายว่า ยานพาหนะขนาดเล็ก ที่มุ่งให้บรรุลธรรมเพื่อการเป็นพระอรหันต์
มหายาน จึงเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายหลายพระองค์ ทั้งที่มีปรากฏนามในพระคัมภีร์เถรวาท  และที่สร้างขึ้นตามคติของตนในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีพระโพธิสัตว์ พระอัครสาวกอีกมากมายเช่นกัน
พระสงฆ์ในสายมหายาน เป็นรูปแบบคณะสงฆ์ ที่ได้ปรับตามกาลเวลาและลักษณะของแต่ละประเทศ  เพื่อให้เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น นอกเหนือจากประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยแล้ว หากเห็นว่าพระวินัยข้อใดไม่เหมาะแล้วกับกาลก็เพิกถอนได้ เราจึงเห็น พระมีวิทยายุทธ พระมีบทบาททางการเมือง ฯลฯ ในประเทศมหายาน
ประเทศที่นับถือได้แก่ จีน เวียดนาม ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทย เมื่อมีชาวจีน และญวนเข้ามาติดต่อสัมพันธ์กันมากเรื่อยมาแต่ครั้งอดีต จึงมีนิกายมหายานในประเทศไทย แยกได้อีก 2 นิกายย่อย คือ
– จีนนิกาย คือคณะสงฆ์มหานิกายแบบจีน
– อานัมนิกาย คือคณะสงฆ์มหานิกายแบบเวียดนาม

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใช่ว่าพระสงฆ์เถรวาทจะไม่ช่วยเหลือประชาชนดีเท่ากับพระสงฆ์มหายาน เพียงแต่ พระสงฆ์มหายาน ปรับรูปแบบขึ้นมาให้เข้าใกล้ญาติโยมมากขึ้น พระวินัยบางข้อที่ไม่เหมาะกับการที่ท่านจะประพฤติ ในการดำรงอยู่ในบางประเทศ ท่านก็เพิกสอนเสีย ดังนั้นพระสงฆ์เถรวาทจึงมีข้อดีมากในส่วนที่ท่านรักษาพระธรรมวินัยตามครั้ง พุทธกาลไว้อย่างบริบูรณ์ที่สุด รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ให้ผิดเพี้ยน ขาดตกไปตามกาลเวลา ให้เป็นแบบบรรทัดฐานการศึกษาแก่นแท้พุทธศาสนาเดิมได้ มาถึงในปัจจุบัน

ในส่วนนิกายวัชรยาน อันเป็นสายทางธิเบตนั้น มีลักษณะที่โซนบ้านเราไม่ค่อยจะคุ้นเคยในรูปแบบมากนัก ทั้งมีแนวคิดที่ต่างไปหลายเรื่อง

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!